วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวทางการปฏิบัติ  เว็บไซต์เพิ่มเติม / ขอราคา
                                                                                                                               
บาดแผลฟกช้ำ คล้ำเขียว บวม                                                                                                                                                                    
1. ให้ประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็น หรือผ้าห่อถุงน้ำแข็งเป็นเวลา 15 นาที ทำซ้ำได้ใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อ ป้องกันอาการบวม
2. ภายหลัง 24 ชั่วโมง ให้ประคบคลึงด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นวันละ 4 ครั้ง เพื่อลดอาการบวมที่เกิดขึ้นแล้ว
 3. ใน 24 ชั่วโมงแรก อย่าคลึง ถู นวดด้วยยาร้อน ของร้อน เช่น ยาแก้เคล็ดขัดยอก ไข่ต้ม เป็นต้น

บาดแผลถลอก-ตัด-ฉีก-แทงทะลุ หรือถูกสัตว์กัด เช่น สุนัข แมว
1. ล้างบาดแผลให้ทั่วด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือล้างแผล 
2. ซับบาดแผลให้แห้ง
3. หากบาดแผลมีเลือดออก ให้ห้ามเลือดโดยการกดบาดแผลด้วยผ้าสะอาด และยกส่วนที่เลือดออก
ให้สูงประมาณ 3-5 นาทีเลือดจะหยุดไหล หากยังไม่หยุดให้พันทับด้วยผ้ายืดและนำส่งแพทย์ต่อไป
4. หากบาดแผลถลอกอาจเปิดแผลได้ บาดแผลตัด ฉีกขาดให้ปิดบาดแผลด้วยพลาสเตอร์หรืผ้าทำแผล
5. ไปพบแพทย์เพื่อการรักษาแผล และพิจารณาการให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก หากเป็นบาดแผล
สัตว์กัดต้องพิจารณาให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย 
บาดแผลกระดูกหัก
1.ผู้บาดเจ็บที่พลัดตกหกล้มหรือถูกชนกระแทกแล้วมีอาการปวด บวม ไม่ยอมเคลื่อนไหว
ให้สงสัยว่ามีภาวะกระดูกหักเกิดขึ้น ก่อนเคลื่อนย้ายจะต้องตรึงกระดูก รวมทั้งข้อบนและข้อล่าง
ของกระดูกที่สงสัย ไม่ให้เคลื่อนไหว โดยใช้หนังสือพิมพ์หรือวารสารต่างๆ ผ้าห่ม หมอน
หรือท่อนไม้ หรือหากเป็นแขนท่อบนให้รัดตรึงกับทรวงอก หากเป็นขาให้ยึดตรึงกับขาอีกข้างหนึ่ง
2. การยึดตรึงกระดูกให้ใช้ผ้ายึดพันกระดูกที่สงสัย ยึดกับอุปกรณ์ที่ใช้ยึดตรึง หากเป็นบริเวณแขน
ให้ใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องเพื่อลดการเคลื่อนไหวด้วย
3. หากมองเห็นกระดูกโผล่ออกมา อย่าพยายามดันกลับเข้าไป ให้เอาผ้าสะอาดคลุมไว้
   ก่อนนำส่งโรงพยาบาล
 จมน้ำ ขาดอากาศหายใจ
1.การจมน้ำจะทำให้ขาดอากาศหายใจ เช่นเดียวกับอุบัติเหตุการถูกกดทับใบหน้า จมูก
การติดค้างศีรษะหรือการรัดคอ   การอุ้มพาดบ่าเพื่อกระทุ้งเอาน้ำออก หรือการวางบนกระทะคว่ำ
แล้วรีดน้ำออก เป็นการปฐมพยาบาลที่ผิดวิธี อาจก่อให้เกิดผลเสียได้
2. เมื่อช่วยคนบาดเจ็บจมน้ำแล้วพบว่ารู้สึกตัว หายใจได้เอง เปลี่ยนเสื้อผ้าที่แห้ง
เช็ดตัวและนำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบอาการ
3. หากไม่หายใจหรือหมดสติแต่ไม่แน่ใจว่าหายใจหรือไม่ ให้ดำเนินการช่วย
การหายใจโดยเป่าปาก 2 ครั้ง และประเมินซ้ำ หากยังหมดสติและไม่หายใจ
ให้การช่วยเหลือโดยการเป่าปาก 1 ครั้ง สลับกับการกดหน้าอกเพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจ  5  ครั้ง

 (ดูเพิ่มเติมในการป่าปากเพื่อช่วยการหายใจ และการกดหน้าอกกระต้นการเต้นของหัวใจ)

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การจัดชุดปฐมพยาบาล

เว็บไซต์เพิ่มเติม/ขอราคา


ชุดปฐมพยาบาลประจำบ้าน คือเครื่องมือสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ต้องประกอบไปด้วยสามสิ่งคือ อุปกรณ์ทำแผล-ยา  แผ่นความรู้แนวทางการปฐมพยาบาล และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน อย่างน้อยในชุดปฐมพยาบาลต้องมีทั้งสามสิ่งนี้ไว้สำหรับการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย เช่น การบาดเจ็บจากการพลัดตก การชนกระแทก บาดแผลตัด-ฉีก-แทงทะลุจากวัสดุผลิตภัณฑ์ต่างๆ การบาดเจ็บจากความร้อน ไฟฟ้า สัตว์กัด และสารพิษ เป็นต้น

สิ่งจำเป็นข้อที่ 1 : เครื่องมือในกล่องปฐมพยาบาล
อุปกรณ์ทำแผลเป็นหนึ่งในสามองค์ประกอบหลักของกล่องปฐมพยาบาล ประกอบด้วยเครื่องมือหลายอย่างที่จะใช้ล้างแผล ห้ามเลือด ปิดแผลป้องกันเชื้อโรค หยุดการเคลื่อนไหวของกระดูกและข้อ เครื่องมือเหล่านี้ควรจัดวางเป็นหมวดหมู่ หยิบหาง่าย และมีการตรวจเช็กอยู่สม่ำเสมอเพื่อหาอุปกรณ์ทดแทนเมื่อใช้ไป อุปกรณ์จำเป็นในชุดการปฐมพยาบาลเบื้องต้นประกอบด้วย
1. ถุงมือ 1 คู่ สำหรับผู้ช่วยเหลือ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ช่วยเหลือสัมผัสถูกเลือด อาเจียน สารคัดหลั่งต่างๆ
(อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล)หรือสารเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนตัวผู้บาดเจ็บ  เพราะหลักการของผู้ช่วยเหลือที่ดีคือตนเองต้องปลอดภัยไว้ก่อน
2. ยาล้างแผล เช่น เบต้าดีน แอลกอฮอล์ หากล้างแผลด้วยน้ำสะอาด เช่น น้ำประปา น้ำดื่มสุกที่ทิ้งไว้
ให้เย็น หรือน้ำดื่มสะอาดแล้วไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเหล่านี้ชะล้างหรือเช็ดถูในบริเวณ
แผล เนื่องจากน้ำยาเหล่านี้จะทำลายเนื้อเยื่อได้ แต่สามารถใช้ทำความสะอาดรอบๆ แผลได้
 โดยใช้น้ำยาเบต้าดีนเช็ดรอบแผลก่อนจะเช็ดออกด้วยแอลกอฮอล์เพื่อลดจำนวนแบคทีเรียที่อยู่รอบๆ 
แผล
3. ผ้าทำแผล (ผ้าก๊อซ) ขนาดเล็ก 3 แผ่น ขนาดกลาง 3 แผ่น ขนาดใหญ่ 3 แผ่น ต้องเป็นแบบเก็บไว้ในซองพลาสติก ผ้าก็อซใช้สำหรับปิดแผลหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว เพื่อป้องกันเชื้อโรค ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือใช้กดบาดแผลที่มีเลือดออกเพื่อห้ามเลือด ผู้ช่วยทำแผลควรล้างมือให้สะอาด เปิดซองห่อผ้าก๊อซ หยิบโดยปากคีบ หรือนิ้วมือ (ที่ล้างแล้ว) โดยสัมผัสเฉพาะส่วนริมๆ เท่านั้น ใช้ผ้าก๊อซให้เหมาะสมกับขนาดของแผล หากมีเลือดออกให้ปิดทับหลายแผ่นได้ยึดผ้าก๊อซกับผิวหนังโดยใช้เทปปิด 2-3 แถบ อาจใช้ผ้ายืดพันทับ(คอนฟอร์ม) แต่ต้องไม่แน่นจนเกินไป
4. พลาสเตอร์เทปปิดแผลขนาดต่างๆ  ใช้สำหรับปิดแผลหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว
5. กรรไกร ใช้ตัดผ้าก็อซหรือตัดผ้าหรือขากางเกงเช่น เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
6. เทปติดแผล
7. ผ้าปิดตา  ใช้สำหรับการบาดเจ็บที่นัยน์ตา เช่น กระจกตาถูกบาด ฝุ่นละอองเข้าตา เป็นต้น
8. เข็มกลัด ใช้ติดผ้าสามเหลี่ยม ผ้าคล้องคอ ผ้ายืด 
9. สำลี ไม้พันสำลี ใช้สำหรับทายาล้างแผลรอบๆ แผล ซับเลือดในแผลที่เป็นรูลึก
10. ผ้ายืด(อีลาสติกแบนเอด) ใช้สำหรับพันเมื่อเกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ ข้อ เพื่อลดการบวม ลดการเคลื่อนไหว หรือใช้พันยึดกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อดามกระดูก ผ้ายืดยังสามารถนำมาพันทับผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์ติดแผลเพื่อห้ามเลือด แต่ห้ามพันแน่นจนเกินไปเพราะทำให้อวัยวะส่วนปลายเกิดการบวมและขาดเลือดมาเลี้ยงได้
11. ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน ปัจจุบันใช้ผ้าคล้องแขนแทนเพราะสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน
12. สมุดจดบันทึก เพื่อบันทึกอาการ ตำแหน่งที่บาดเจ็บ การรักษาที่ให้ไป เพื่อส่งต่อให้ผู้ดูแลรักษาต่อไป
13. ถุงพลาสติก 1 ใบ สำหรับใส่เศษขยะ เช่น ผ้าเปื้อนเลือด เป็นต้น
14. ยาฉุกเฉินสำหรับรับประทาน ยาที่ใช้รับประทาน อยู่ภายในกล่องปฐมพยาบาล โดยกล่องบรรจุยานี้ต้องปิดมิดชิดไม่เปิดได้โดยง่าย มีข้อความระบุข้างกล่องชัดเจนว่า เป็นยาสำหรับรับประทาน ควรมียาเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น คือ
1.  ยาลดไข้แก้ปวดสำหรับบาดแผลที่มีอาการปวด
2.  ผงเกลือแร่สำหรับการบาดเจ็บที่มีการเสียเลือดมาก หรือบาดแผลพุพองจากความร้อนที่มีบริเวณกว้าง หรือผู้ที่มีอาการอาเจียนและท้องเสีย
3. ยากระตุ้นการอาเจียนชื่อ ไซรัป ไอพิแคค อาจมีไว้ด้วยก็ได้ สำหรับผู้ที่กินสารพิษ แต่การใช้ต้องปรึกษา ศูนย์พิษวิทยาก่อน เพราะมีสารพิษบางตัวมีข้อห้ามไม่ให้กระตุ้นการอาเจียน เช่น น้ำยาล้างพื้นที่มีฤทธิ์กัด รุนแรง เป็นต้นสิ่งจำเป็น