วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

แนวทางการปฏิบัติ  เว็บไซต์เพิ่มเติม / ขอราคา
                                                                                                                               
บาดแผลฟกช้ำ คล้ำเขียว บวม                                                                                                                                                                    
1. ให้ประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็น หรือผ้าห่อถุงน้ำแข็งเป็นเวลา 15 นาที ทำซ้ำได้ใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อ ป้องกันอาการบวม
2. ภายหลัง 24 ชั่วโมง ให้ประคบคลึงด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นวันละ 4 ครั้ง เพื่อลดอาการบวมที่เกิดขึ้นแล้ว
 3. ใน 24 ชั่วโมงแรก อย่าคลึง ถู นวดด้วยยาร้อน ของร้อน เช่น ยาแก้เคล็ดขัดยอก ไข่ต้ม เป็นต้น

บาดแผลถลอก-ตัด-ฉีก-แทงทะลุ หรือถูกสัตว์กัด เช่น สุนัข แมว
1. ล้างบาดแผลให้ทั่วด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือล้างแผล 
2. ซับบาดแผลให้แห้ง
3. หากบาดแผลมีเลือดออก ให้ห้ามเลือดโดยการกดบาดแผลด้วยผ้าสะอาด และยกส่วนที่เลือดออก
ให้สูงประมาณ 3-5 นาทีเลือดจะหยุดไหล หากยังไม่หยุดให้พันทับด้วยผ้ายืดและนำส่งแพทย์ต่อไป
4. หากบาดแผลถลอกอาจเปิดแผลได้ บาดแผลตัด ฉีกขาดให้ปิดบาดแผลด้วยพลาสเตอร์หรืผ้าทำแผล
5. ไปพบแพทย์เพื่อการรักษาแผล และพิจารณาการให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก หากเป็นบาดแผล
สัตว์กัดต้องพิจารณาให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย 
บาดแผลกระดูกหัก
1.ผู้บาดเจ็บที่พลัดตกหกล้มหรือถูกชนกระแทกแล้วมีอาการปวด บวม ไม่ยอมเคลื่อนไหว
ให้สงสัยว่ามีภาวะกระดูกหักเกิดขึ้น ก่อนเคลื่อนย้ายจะต้องตรึงกระดูก รวมทั้งข้อบนและข้อล่าง
ของกระดูกที่สงสัย ไม่ให้เคลื่อนไหว โดยใช้หนังสือพิมพ์หรือวารสารต่างๆ ผ้าห่ม หมอน
หรือท่อนไม้ หรือหากเป็นแขนท่อบนให้รัดตรึงกับทรวงอก หากเป็นขาให้ยึดตรึงกับขาอีกข้างหนึ่ง
2. การยึดตรึงกระดูกให้ใช้ผ้ายึดพันกระดูกที่สงสัย ยึดกับอุปกรณ์ที่ใช้ยึดตรึง หากเป็นบริเวณแขน
ให้ใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องเพื่อลดการเคลื่อนไหวด้วย
3. หากมองเห็นกระดูกโผล่ออกมา อย่าพยายามดันกลับเข้าไป ให้เอาผ้าสะอาดคลุมไว้
   ก่อนนำส่งโรงพยาบาล
 จมน้ำ ขาดอากาศหายใจ
1.การจมน้ำจะทำให้ขาดอากาศหายใจ เช่นเดียวกับอุบัติเหตุการถูกกดทับใบหน้า จมูก
การติดค้างศีรษะหรือการรัดคอ   การอุ้มพาดบ่าเพื่อกระทุ้งเอาน้ำออก หรือการวางบนกระทะคว่ำ
แล้วรีดน้ำออก เป็นการปฐมพยาบาลที่ผิดวิธี อาจก่อให้เกิดผลเสียได้
2. เมื่อช่วยคนบาดเจ็บจมน้ำแล้วพบว่ารู้สึกตัว หายใจได้เอง เปลี่ยนเสื้อผ้าที่แห้ง
เช็ดตัวและนำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบอาการ
3. หากไม่หายใจหรือหมดสติแต่ไม่แน่ใจว่าหายใจหรือไม่ ให้ดำเนินการช่วย
การหายใจโดยเป่าปาก 2 ครั้ง และประเมินซ้ำ หากยังหมดสติและไม่หายใจ
ให้การช่วยเหลือโดยการเป่าปาก 1 ครั้ง สลับกับการกดหน้าอกเพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจ  5  ครั้ง

 (ดูเพิ่มเติมในการป่าปากเพื่อช่วยการหายใจ และการกดหน้าอกกระต้นการเต้นของหัวใจ)